ReadyPlanet.com


เที่ยววิหารอาบูซิมเบล ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคฟาโรห์


      วิหารอาบูซิมเบล อารยธรรมทางประวัคิศาสตร์และสถาปัตยกรรมอันสำคัญแห่งหนึ่งของอียิปต์ มีความโดดเด่นทางโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนแห่งใดในโลก รวมถึงเป็นงานก่อสร้างที่ใหญ่โตอลังการในยุคโบราณ สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรอียิปต์โบราณเมื่อหลายพันปีก่อน ด้วยเหตุนี้องค์กร UNESCO จึงได้ประกาศให้วิหารอาบูซิมเบลเป็นหนึ่งในมรดกโลก ซึ่งทุกวันนี้ได้มีนักท่องเที่ยวมากมายจากทั่วทุกมุมโลกต่างก็ตีตั๋วเดินทางเข้าสู่ประเทศอียิปต์เพื่อแวะชมความงดงามของอาบูซิมเบลสักครั้งในชีวิต

     อาบูซิมเบล ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศอียิปต์บริเวณริมทะเลสาบนัสซอร์ ใกล้กับชายแดนประเทศซูดาน นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาแวะชมได้โดยนั่งรถเดินทางมาจากเมืองอัสวาน ภายในอาบูซิมเบลจะแบ่งออกเป็นวิหารของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งเป็นวิหารหลัก และวิหารของเทพีเฮเธอร์ (เทพีและความรักและมารดา) ที่เป็นวิหารรอง โครงสร้างของวิหารทั้งสองจะเป็นการเจาะช่องเขาทำเป็นห้องอยู่ภายใน ด้านหน้าทางเข้าจะมีการแกะสลักเป็นรูปประติมากรรมติดผนังขนาดใหญ่ หันหน้าเข้าสู่ทะเลสาบทางทิศตะวันออก เมื่อแสงอาทิตย์ขึ้นยามเช้าจะตกกระทบลงกับบริเวณด้านหน้าของวิหาร ทำให้ภาพออกมาสวยยิ่งนัก เรียกได้ว่าเป็นแลนด์มาร์กอันสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
 
     วิหารอาบูซิมเบล สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์อำนาจของอียิปต์ที่มีเหนือชาวนูเบีย โดยสร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ประมาณ 1,300 ปีก่อนคริสตกาล (หรือประมาณ 3,300 ปี ก่อน) ซึ่งในเวลานั้นพระองค์ได้ทำสงครามคาเดชเพื่อต่อด้านกับชาวนูเบียที่อยู่ทางทิศใต้ของอาณาจักร เมื่อพระองค์เอาชนะในสงครามก็ได้สร้างวิหารขึ้นมากมายรวมถึงวิหารอาบูซิมเบลเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ได้ทำไป อีกทั้งยังเป็นการประกาศศักดาข่มขู่ไม่ให้ขาวนูเบียกล้าเข้ามารุกล้ำอียิปต์อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วการสร้างวิหารของอียิปต์โบราณจะทำขึ้นเพื่อบูชาเทพองค์ต่าง ๆ อย่าง เทพราห์ เทพทาห์ เทพอามุน เป็นต้น แต่จากสถาปัตยกรรมของวิหารอาบูซิมเบลนั้นพบว่ามีการสลักรูปปั้นฟาโรห์รามเสสที่ 2 ร่วมเข้าไปกับเทพองค์ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการยกย่องอำนาจของพระองค์เทียบเท่ากับเทพองค์อื่น ๆ เลยทีเดียว สรุปได้ว่า
      จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าวิหารอาบูซิมเบลนั้นสร้างขึ้นในปี 1264 ก่อนคริสตกาล ใช้เวลาสร้างอันยาวนานถึง 20 ปี จึงแล้วเสร็จในปี 1244 ก่อนคริสตกาล และหลังจากที่อาณาจักรอียิปต์หมดอำนาจไปตัววิหารก็ถูกปล่อยทิ้งร้าง จนมีทรายเข้ามาทับถมตามกาลเวลาจนแทบมิดวิหาร จนกระทั่งผ่านมานับพันปีในช่วงปี ค.ศ. 1813 โจฮัน ลุดวิก เบิร์คฮารดต์ นักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้เดินทางมาพบกับบริเวณส่วนยอดของวิหารอาบูซิมเบล โครงการสำรวจวิหารจึงได้ดำเนินขึ้นโดยได้เด็กท้องถิ่นชื่ออาบูซิมเบล เข้ามาช่วยในการสำรวจและนำชมวิหาร ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวิหารอาบูซิมเบลในเวลาต่อมา
     เมื่อถึงปี ค.ศ. 1960 ทางรัฐบาลอียิปต์มีโครงการที่จะสร้างเขื่อนกักน้ำในทะเลสาบนัสซอร์ ซึ่งหากดำเนินโครงการดังกล่าวจะส่งผลกระทบทำให้วิหารอาบูซิมเบลต้องจมอยู่ใต้น้ำ ทาง UNESCO จึงมีการบูรณะเพื่อรักษาตัววิหารครั้งใหญ่ โดยเคลื่อนย้ายโครงสร้างอันซับซ้อนตัววิหารและภูเขาโดยรอบไปยังพื้นที่สูงเพื่อป้องกันการน้ำท่วม นับเป็นการบูรณะทางโบราณคดีโครงการยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยทำมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้ชมแหล่งอารยธรรมที่เป็นมรดกโลกไว้สืบไป
 
     สำหรับวิหารหลักจะมีการแกะสลักเป็นรูปปั้นฟาโรห์รามเสสที่ 2 จำนวน 4 องค์ มีความสูง 20 เมตร นั่งทำท่าทางต่างอิริยาบถกันอยู่ 4 รูปแบบ ตรงกลางมีการเจาะเป็นช่องประตูทางเข้า ที่บริเวณเท้าจะแกะสลักเป็นรูปพระมารดา พระราชินี และพระราชโอรส-ธิดาอีก 8 องค์ ภายในถูกแบ่งเป็นแต่ละห้อง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะพบการแกะสลักผนังด้วยอักษรเฮียโรกลิฟฟิคที่บอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ภาพการทำสนธิสัญญาคาเดชอันเป็นพระราชกรณียกิจทางทหารที่สำคัญ ไปจนถึงการเรื่องพิธีกรรมของเทพอียิปต์ยุคโบราณ
     จุดเด่นที่พลาดไม่ได้กับวิหารหลักแห่งนี้คือรูปปั้นยืนเทพสี่องค์เรียงติดกันในห้องด้านในสุด อันประกอบไปด้วยเทพอามุน เทพพทาห์ เทพราห์ และตัวพระองค์ฟาโรห์รามเสสที่ 2 เมื่อแสงอาทิตย์ยามเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม และ 22 กุมภาพันธ์ จะสาดส่องเข้ามายังห้องด้านในอย่างตรงจุด โดยจะส่องเพียงเทพทั้งสามองค์ แต่แสงจะไม่ส่องไปยังเทพพทาห์เพราะเป็นเทพแห่งความมืด แสดงถึงความอัจฉริยะด้านการคำนวณของชาวอียิปต์โบราณ นักท่องเที่ยวจะสามารถชมปรากฏการณ์นี้ได้เพียงปีละสองครั้งเท่านั้น
 
     ด้วยการแสดงความรักอันยิ่งใหญ่ของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ที่มีต่อคนรัก จึงได้สร้างวิหารเทพเฮเธอร์อยู่ข้าง ๆ เพื่ออุทิศให้กับพระนางเนเฟอร์ทารีอันเป็นที่รัก โดยด้านหน้าทางเข้าจะมีการแกะสลักรูปปั้นยืน 6 องค์ ซึ่งจะเป็นฟาโรห์รามเสสที่ 2 จำนวน 4 องค์ และพระนางเนเฟอร์ทารี จำนวน 2 องค์ รูปปั้นทั้งหมดจะมีความสูงเท่ากันสื่อถึงความเท่าเทียมที่องค์ฟาโรห์มอบให้นางอย่างสุดหัวใจ ต่างจากรูปแกะสลักอื่น ๆ ที่องค์ฟาโรห์จะมีขนาดใหญ่กว่า และที่บริเวณเท้าของรูปปั้นยืนก็จะมีการแกะสลักเป็นพระโอรสและพระธิดาองค์ต่าง ๆ ส่วนภายในวิหารก็จะมีการเจาะช่องเป็นห้องต่าง ๆ ที่เหมาะกับวิหารหลัก บริเวณผนังจะมีการแกะสลักเป็นภาพพระนางเนเฟอร์ทารีและเทพีเฮเธอร์ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวอียิปต์ได้เป็นอย่างดี
 
     เมื่ออาทิตย์ลับขอบฟ้า มหาวิหารอาบูซิมเบลก็จะเผยในอีกมุมของความงดงามผ่านแสงสีเสียงตระการตา ด้วยแสงสีมุมสะท้อนและเงาตัดกับทิวทัศน์ของทะเลทราย ทำให้มีกลิ่นอายความโบราณผุดขึ้นมาให้ได้เห็น การจัดแสดงแสงสีเสียงนั้นจะมีเนื้อหาบอกเล่าประวัติความเป็นมาของวิหารอาบูซิมเบล เนรมิตให้ตัววิหารได้ฟื้นขึ้นมาจากอดีต ชวนให้ผู้ชมรู้สึกหลงใหลและเคลิ้มไปกับเรื่องราวของเทพเจ้าและอารยธรรมโบราณ
 
-แต่งกายให้ดูสบายคล่องตัว เนื่องจากวิหารอาบูซิมเบลและสภาพแวดล้อมโดยรอบนั้นค่อนข้างแห้งแล้ง มีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงบ่าย และหากเดินทางไปช่วงฤดูร้อน (ประมาณเดือนมิถุนายน – สิงหาคม) จะพบกับคลื่นความร้อนสูง จึงขอแนะนำนักท่องเที่ยวให้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าเบาสบายและระบายอากาศได้ดี อย่าพกสิ่งของหนักเกินความจำเป็น สวมรองเท้าหุ้มส้นที่ให้ความคล่องตัว ที่สำคัญคือแนะนำให้เตรียมอุปกรณ์กันแสงแดดต่าง ๆ เช่น แว่นกันแดด ครีมกันแดด หมวกกันแดด รวมถึงพกน้ำติดตัวไว้ในการจิบตลอดทางซึ่งจะช่วยป้องกันอาการฮีทสโตรกได้
-ตรวจสอบค่าเข้าชมวิหารอาบูซิมเบล ซึ่งจะตกอยู่ที่ประมาณ 600 ปอนด์อียิปต์ หรือประมาณ 677 บาท (เรทราคา ณ เดือน พ.ย. 2023) แต่เพื่อความชัวร์แนะนำให้คุณตรวจสอบราคาค่าเข้าในช่วงใกล้ ๆ เดินทาง เพราะราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้พื้นที่ภายในวิหารจะมีโซนที่ห้ามถ่ายรูปอยู่ หากต้องการถ่ายรูปจะต้องเสียค่าอนุญาตเพิ่มเติม
-ศึกษาประวัติก่อนเดินทาง เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวให้ฟินไปอีกขั้น เราแนะนำให้คุณศึกษาประวัติความเป็นมาของวิหารอาบูซิมเบลแบบพอสังเขป ซึ่งจะช่วยปะติดปะต่อเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้หากคุณต้องการเพิ่มอรรถรสในการรับชมแนะนำให้ลองจ้างไกด์ท้องถิ่นนำเที่ยว ซึ่งจะทำให้คุณเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ขณะเที่ยวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
-ทำตามกฎระเบียบเข้าชมอย่างเคร่งครัด ทุกสถานที่ท่องเที่ยวย่อมมีกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งวิหารอาบูซิมเบลก็เช่นกัน แนะนำให้คุณแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เนื่องจากเป็นศาสนสถานสำคัญ รวมถึงอย่าถ่ายรูปในจุดห้ามถ่าย อย่าจับต้องศิลปะและงานแกะสลักภายใน และอย่าส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
 
1.ทางรถยนต์ เป็นเส้นทางที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวมากที่สุด โดยนั่งรถยนต์ออกจากเมืองอัสวานมาทางทิศใต้ประมาณ 4 ชั่วโมงก็จะมาถึงวิหารอาบูซิมเบลที่รอคอย ซึ่งระหว่างทางคุณจะดื่มด่ำกับบรรยากาศชนบทของประเทศอียิปต์และความงามของทะเลสาบ หากสนใจคุณสามารถติดต่อจ้างรถพร้อมคนขับส่วนตัวหรือจะซื้อแพ็คเกจทัวร์จากเมืองอัสวานมาก็ได้ ซึ่งแพ็คเกจทัวร์ส่วนมากจะจัดโปรแกรมให้คุณได้ชมสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ด้วย
2.ทางเครื่องบิน สำหรับใครที่ต้องการการเดินทางสุดเอ็กคลูซีฟ คุณสามารถเดินทางมากับเครื่องบินขนาดเล็กจากกรุงไคโร หรือเมืองอัสวาน เพื่อมาลงสนามบินใกล้ ๆ อาบูซิมเบลได้ นับว่าเป็นการเดินทางที่รวดเร็ว และนักท่องเที่ยวจะได้ชมกับบรรยากาศในมุมสูงของวิวทะเลทรายและแม่น้ำไนล์ แต่ก็จะมีราคาแพงตามมาด้วยเช่นกัน
 
     วิหารอาบูซิมเบลนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ทางอารยธรรมอียิปต์โบราณ เป็นร่องรอยที่บ่งบอกประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมโบราณ และวัฒนธรรมมารวมเข้าด้วยกัน สำหรับใครที่มีหัวใจของนักสำรวจและอยากสัมผัสกับกลิ่นอายของอียิปต์โบราณ วิหารอาบูซิมเบลจะเป็นลิสรายชื่อแรก ๆ ที่คุณต้องมาเยือนสักครั้งในชีวิต
     สัมผัสกับอารยธรรมโบราณอย่างใกล้ชิด เที่ยวสนุก เดินทางสบาย ให้ Artralux วางแผนการเดินทางกับคุณ เรามีบริการต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นบริการเช่ารถพร้อมคนขับ ให้คุณเดินทางไปเที่ยวอาบูซิมเบลแบบ Private ไม่ต้องแชร์ที่นั่งกับใคร อยากแวะเที่ยวเพิ่มที่ไหนก็ใส่ลงไปในโปรแกรมได้ บริการจองตั๋วเครื่องบิน ให้คุณบินลัดฟ้าไปเที่ยวอียิปต์บนสายการบินที่คุณต้องการ บริการทำวีซ่าท่องเที่ยวประเทศอียิปต์ ไม่ต้องทำเอกสารเองให้วุ่นวาย ไปจนถึงบริการจองตั๋วโรงแรมและร้านอาหารให้คุณได้เที่ยวในแบบไลฟ์สไตล์ของคุณ หากคุณมีแพลนจะเที่ยวอียิปต์แล้ว ติดต่อมาให้ Artralux ช่วยคุณได้เลย
 


ผู้ตั้งกระทู้ Kingdom :: วันที่ลงประกาศ 2023-12-07 15:51:33 IP : 104.28.252.177


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.