ReadyPlanet.com


5 วิธีปลุก passion ในชีวิต แม้จะต้องทำงานที่ไม่ชอบ


 

มีคนจำนวนมากที่ไม่ชอบงานของตัวเอง ไม่มีความสุข และรู้สึกเบื่อ ไม่มีกะจิตกะใจที่จะตื่นตอนเช้าในแต่ละวันเพื่อไปทำงาน งานที่ต้องทำในปัจจุบันเป็นเพียงแค่สิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้ได้เงินมาใช้ในการดำเนินชีวิตเพียงเท่านั้น ตั้งหน้าตั้งตารอคอย วันหยุดเสาร์ อาทิตย์​ หรือ แม้แต่วันหยุดยาวๆ เพื่อที่จะได้หยุดจากงาน และ เอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่อยากทำจริงๆ ที่ผ่านมา เราคงจะได้ยินคำพูดที่ว่า ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน ตั้งใจเก็บเงิน เพราะว่าอีกหน่อยเราจะได้มีชีวิตที่สบาย มีชีวิตบั้นปลายที่มีความสุข ได้ทำในสิ่งที่เราต้องการจะทำเสียที แต่ ... ถ้าวันนั้นไม่ได้มาถึง เราไม่รู้ว่าเราจะมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้ยาวนานแค่ไหน และ ตามธรรมชาติของมนุษย์​ เรามีความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด มีรถคันแรก ก็อยากมีรถคันที่สอง ที่แพงขึ้น อยากมีบ้านที่ใหญ่ขึ้น จนดูเหมือน เราติดอยู่ในกับดักของการทำงานที่เราต้องทำ โดยไม่สามารถหาทางออกให้กับตัวเองได้ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเราได้ทำงานที่เรามี passion งานที่เราหลงใหล มีความหมายกับชีวิตเรา มีความสุขที่ได้ทำ และมีชีวิตในรูปแบบที่เราต้องการอย่างแท้จริง ได้ในตอนนี้ โดยที่ไม่ต้องรอ “วันหนึ่ง” อย่างที่ผู้ใหญ่ หรือ ใครๆ เคยพูดกัน แน่นอน หลายๆ คนมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และไม่สามารถที่จะลาออกจากงานที่ทำ เพื่อมาตามหา passion ของตัวเองได้ แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถที่จะหาวิธีที่ทำให้เรามี ความสุข และ สนุก กับงานที่เราทำในปัจจุบันได้ จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถเอางานอดิเรกที่เรารักมาเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ เพื่อที่วันหนึ่ง มันจะเป็นรายได้หลักให้กับเราได้ บทความนี้ แพรขอนำเสนอวิธีการ 6 วิธีการในการสร้าง passion กับงานที่ทำ และมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้นค่ะ

 

 

1. ถามตัวเองว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข

 

 

นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษา และ ค้นพบว่า โดยส่วนมากคนเรามักจะทำในสิ่งที่ชอบ ทำให้เรามีความสุข และ พยายามที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เรามีความทุกข์ และเมื่อชีวิตของเราติดอยู่กับงานประจำที่เรารู้สึกไม่ชอบ และไม่สามารถที่จะลาออกได้ สมองของเราจะโฟกัสไปกับสิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับงานของเรา หรือ ชีวิตของเรา ให้เราลองเปลี่ยนคำถามกับตัวเองใหม่เป็น มีอะไรบ้างที่เราชอบในงานของเรา หรือในชีวิตของเราตอนนี้ เช่น เราชอบงานเราที่ทำให้เราได้ใช้ และ พัฒนาภาษาอังกฤษ, เราชอบชีวิตเราที่มีอิสระจากการเดินทาง เป็นต้น วิธีการนี้จะช่วยทำให้สมองของเราเบี่ยงเบนจากสิ่งที่เราไม่ชอบ สิ่งที่ทำให้เราไม่มีความสุข มายังสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข และสบายใจนั่นเอง

 

 

2. ระบุจุดแข็ง และ โอกาสต่างๆ ในชีวิตของเรา

 

 

ลองกลับมาสำรวจตัวเองว่า อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดี อะไรคือทักษะที่เราสามารถนำออกมาใช้และช่วยเหลือผู้อื่นได้ และกลับมาสำรวจว่า งานที่เราทำในปัจจุบัน ได้ให้โอกาสเรา เอาจุดแข็งและทักษะที่เรามีออกมาใช้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือ ไม่มีโอกาสนั้น สิ่งที่เราต้องทำต่อไปก็คือ การมองหาปัญหา หรือ งานต่างๆ ที่เราจะสามารถนำเอาจุดแข็ง และทักษะของเราออกมาใช้ได้ เมื่อเราเจอแล้ว เราสามารถเดินไปบอกหัวหน้าของเรา เพื่อขอโอกาสให้เราทำสิ่งนั้นได้

 

นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า คนเราทุกคนจะรู้สึกดี ที่เราได้ทำอะไรสักอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และ รู้สึกดีมากขึ้น ถ้าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราทำได้ดีด้วย

 

 

3. ลงเรียนเพิ่มเติม ไปเป็นอาสาสมัคร หรือ ทำงานเสริม

 

 

วิธีนี้จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เราได้ทำในสิ่งที่เราทำได้ดี หรือ พัฒนาจุดแข็งของเรา ซึ่งถ้างานที่เราทำ ไม่ได้เปิดโอกาสให้เราทำสิ่งนั้นมากนัก เราก็สามารถหาโอกาสนอกงานประจำที่เราทำได้ และ การทำสิ่งนี้ อาจเปิดประตูโอกาสใหม่ๆ ให้กับเรา เพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตในการทำในสิ่งที่เรารักก็เป็นได้

 

 

4. พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนอื่น

 

 

บ่อยครั้งที่เราอาจจะรู้สึกว่า เราไม่รู้ว่าเรามี passion กับอะไร หรือว่าเราเก่งอะไร การพูดคุยกับคนอื่นๆ ที่ดูมีความสุข และ รักงานของเขา ว่า เพราะอะไรเขาถึงชอบมัน ก็จะช่วยให้เราเห็นมุมมองที่แตกต่างของคนอื่นๆ และ บ่อยครั้ง เราก็จะได้รับแรงบันดาลใจดีๆ จากประสบการณ์จริงของผู้คนอีกด้วย

 

5. ตั้งเป้าหมาย

 

 

มนุษย์เรามีทางเลือกเสมอ แทนที่เราจะจมอยู่กับชีวิตที่เรารู้สึกไม่มีความสุข เราสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนแปลง และลงมือทำในสิ่งที่เราต้องการที่จะให้เกิดขึ้นได้ เริ่มต้นด้วย รู้ว่าเราต้องการอะไรในชีวิต อะไรคือ passion ของเรา และวางแผนการลงมือทำ การตั้งเป้าหมาย เป็นการเริ่มปะติด ปะต่อ ชีวิตในฝันของเราให้เป็นรูปธรรม ที่มีระยะเวลาที่ชัดเจน




ผู้ตั้งกระทู้ เจ้าหนู :: วันที่ลงประกาศ 2023-11-02 05:23:52 IP : 104.28.252.177


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.