ReadyPlanet.com


โรคไส้เลื่อน - อาการและการรักษา


  ไส้เลื่อน (hernia) คือภาวะที่อวัยวะหรือบางส่วนของอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ลำไส้ (bowel) หรือ แผ่นไขมัน (omentum) ยื่นออกจากช่องท้องผ่านทางกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือมีรูเปิดผิดปกติไปยังตำแหน่งอื่น ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งใดก็ได้ในส่วนท้องตั้งแต่เหนือสะดือลงมาจนถึงใต้ขาหนีบ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีก้อนนูนออกมาสามารถคลำพบได้โดยง่าย

เป็นไส้เลื่อนที่เคลื่อนออกมาตามรูเปิดบริเวณขาหนีบ (indirect inguinal hernia) ซึ่งรูเปิดนี้เดิมเป็นทางออกของเลือดที่มาเลี้ยงลูกอัณฑะระหว่างพัฒนาการของทารกในครรภ์มารดาและจะปิดไปตามธรรมชาติ แต่เกิดความผิดปกติที่ทำให้รูเปิดยังคงอยู่ ทำให้ลำไส้หรือแผ่นไขมันเคลื่อนออกมาได้ และอาจเคลื่อนต่อเนื่องไปยังถุงอัณฑะ
อาการหลักของโรคไส้เลื่อนคือคลำพบก้อนนูนในบริเวณที่เกิดโรค เช่น ในกรณีของผู้ป่วยไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบจะมีก้อนนูนด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกเชิงกรานหรือขาหนีบ และถ้านอนลงจะสามารถดันให้กลับเข้าไปในช่องท้องได้ ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกปวดบริเวณก้อนโดยเฉพาะขณะก้มตัว ยกสิ่งของ และไอจาม หรือมีอาการอัณฑะบวมและปวด
ส่วนไส้เลื่อนกระบังลม ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคกรดไหลย้อน ปวดบริเวณหน้าอก และรู้สึกกลืนลำบาก ทั้งนี้ โรคไส้เลื่อนบางชนิดอาจไม่มีก้อนนูนให้เห็นเลย แต่ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องโดยหาสาเหตุไม่ได้ ปวดเฉพาะเวลาไอจาม หรือยกสิ่งของ มีอาการท้องผูก มีเลือดปนในอุจจาระ ซึ่งเป็นความผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการซึ่งอาจเกิดจากโรคไส้เลื่อนได้
เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไส้เลื่อนติดคาไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้องได้ (incarcerated hernia) หรือภาวะลำไส้ขาดเลือดและเน่าตาย (strangulated hernia) หรือภาวะลำไส้อุดตัน (bowel obstruction) ซึ่งเป็นภาวะที่อาหารหรืออุจจาระไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้ไปได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จำเป็นที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการผ่าตัดรักษาฉุกเฉิน
วิธีหลักในการรักษาโรคไส้เลื่อนคือ การผ่าตัด โดยความเร่งด่วนในการรักษาขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนนูนและอาการของผู้ป่วยว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ในรายที่ก้อนมีขนาดเล็กและผู้ป่วยไม่มีอาการ แพทย์อาจแนะนำให้เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนโดยยังไม่จำเป็นต้องรีบผ่าตัด หรือในกรณีของไส้เลื่อนกระบังลม (hiatal hernia) ที่มีขนาดไม่ใหญ่ และมีอาการกรดไหลย้อน การรักษาอาจเป็นการใช้ยาประคับประคองตามอาการ เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (open surgery) ผู้ป่วยจะได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธีดมยาสลบหรือทำให้ชาเฉพาะที่ โดยแพทย์จะทำการผ่าบริเวณที่มีก้อนนูนเพื่อดันส่วนที่เคลื่อนออกมาให้กลับเข้าไปยังตำแหน่งเดิม แล้วเย็บซ่อมจุดที่อ่อนแอพร้อมใส่วัสดุสังเคราะห์ลักษณะคล้ายตาข่าย (surgical mesh) เพื่อเสริมความแข็งแรง แล้วจึงเย็บปิดแผล การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บแผลมากกว่า และอาจต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าการผ่าตัดผ่านกล้อง


ผู้ตั้งกระทู้ POPCORN (popc9251-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-12-19 07:16:39 IP : 116.212.148.58


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.